มาติกาโชติกะ ธัมมสังคณีสรูปปัตถนิสสยะ

ตำราเรียนชั้น จุฬอาภิธรรมิกะเอก  

มาติกาโชติกะ ธัมมสังคณีสรูปปัตถนิสสยะ
หมายความว่า "มาติกาโชติก ธมฺมสงฺคณีสรูปตฺถนิสสย"  แยกศัพท์ ดังนี้
มาติกา = แม่บท, อุทเทส กระทู้
โชติก = ทำให้สว่าง
ธมฺม = สภาวธรรม
สงฺคณี = รวบรวม,การสวดหรือ ร้อยกรอง
สรูป = สรุปย่อ
อตฺถ = เนื้อความ ได้แก่ สภาวะ
นิสฺสย = เป็นที่อาศัยและบรรจุ
เมื่อรวมความแล้ว คำว่า "มาติกาโชติก ธมฺมสงฺคณีสรูปนิสฺสย"
แปลว่า คัมภีร์ที่ทำแม่บทให้สว่าง และเป็นที่อาศัยบรรจุ เนื้อความ
คือสภาวธรรมโดยย่อ จากคัมภีร์ธัมมสังคณี
หมายเหตุ คัมภีร์ธัมมสังคณีเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมสภาวะธรรม
-----------------------------------------------------------------------
ประเภทแห่งมาติกามี ๒ อย่างคือ (มาติกา =หัวข้อ แม่บท)
๑. ติกมาติกา : เป็นมาติกาที่จำแนกปรมัตถธรรม ๔ โดยแบ่งเป็น ๓ บท
(๑ ติกะ แบ่งออกเป็น ๓ บท) เนื้อหามีจำนวน ๒๒ ติก คือ กุศลติกะ เป็นต้นจนถึง สนิทัสสนติก เป็นที่สุด  ( ฉะนั้น 22x3 = 66 บท)
๒. ทุกมาติกา เป็นมาติกาที่จำแนกปรมัตถธรรมทั้ง ๔ โดยแบ่งออกเป็น ๒ บท มี ๒ อย่างคือ:-
     ๒.๑ อภิธรรมทุกมาติก มี 100 ทุกะ คือตั้งแต่ เหตุทุก เป็นต้น จนถึง สรณทุกเป็นที่สุด ( ฉะนั้น 100x2 = 200 บท
     ๒.๒ สุตตันติกทุกมาติกา มี ๔๒ ทุกะ คือตั้งแต่ วิชชาภาคีทุก เป็นต้น จนถึง ขเยฌานทุกะเป็นที่สุด ( ฉนั้น 42x2 =84 บท)
-------------------------เมื่อรวมแล้วมีดังนี้ 66+ 200 +84 = 350 บท
หมายเหตุ: พุทธมัตตัญญุภาสิตทุกมาติกา ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ ได้ขยายความอภิธรรมทุกมาติกา ให้ละเอียดพิสดาร จำนวน 74 ทุกะ จึงเท่ากับ 74x2 = 148
เมื่อรวมแล้ว ที่จะต้องเรียนมีดังนี้ :  350 + 148 = จึงเท่ากับ 500 หย่อนไป 2
(รวมแล้วเป็น 498 บท)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

จำแนกปรมัตถธรรม ๔